ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์

เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (อังกฤษ: Sir Thomas Stamford Bingley Raffles); (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2324 – 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2369) ผู้บริหารอาณานิคม ผู้ก่อตั้งเมืองสิงคโปร์ เกิดบนเรือที่ลอยทะเลนอกฝั่งพอร์ตมอแรนท์ จาไมก้า แรฟเฟิลส์ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการน้อยมากแต่ก็ได้เข้าทำงานเป็นสมียนของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ หลังจากการศึกษาด้วยตนเอง แรฟเฟิลส์ ก็ได้รับตำแหน่งก้าวหน้าเป็นผู้ช่วยเลขานุการเมืองปีนังได้เลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วจนถึงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการเขตอาณานิคมชวา (พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2359) และ ได้ปฏิรูประบบการบริหารใหม่โดยสิ้นเชิง

เมื่อปี พ.ศ. 2359 แรฟเฟิลส์ต้องกลับบ้านที่อังกฤษเนื่องจากการป่วยไข้ และได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินชั้นเซอร์

เมื่อแรฟเฟิลส์หายป่วยและกลับมาดำรงตำแหน่งรองผู่ว่าราชการเขตอาณานิคม "เบงกูลู" (พ.ศ. 2361 - พ.ศ. 2366) ก็ได้จัดตั้งนิคมขึ้นที่เกาะสิงค์โปร์อีก แรฟเฟิลส์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดผู้หนึ่งในการพัฒนาจักรวรรดิอังกฤษในตะวันออกไกล

แต่เดิมเกาะสิงคโปร์เคยเป็นที่ตั้งหน่วยทหารของอาณาจักรศรีวิชัยในย่านสุมาตรา มีชื่อเป็นภาษาชวาว่า "เทมาเสก" (แปลว่าเมืองทะเล) ซึ่งต่อมาได้กลายเมืองค้าขายที่เพิ่มความสำคัญมากขึ้น แต่หลังจากประมาณ พ.ศ. 1850 เป็นต้นมา ความเจริญทางการค้าเสื่อมถอย ลงจนเกือบหาร่องรอยของเมืองเทมาเสกไม่พบ ระหว่าง ประมาณ พ.ศ. 2050 - พ.ศ. 2350 เกาะสิงคโปร์ได้กลายเป็นส่วนของอาณาเขตของสุลต่านยะโฮร์ โดยในช่วงนี้ก็ได้เกิดสงครามระหว่างชาวมาเลย์ กับโปรตุเกส อาคารบ้านเรือนถูกเผาจนราบเรียบและตกอยู่ในการครอบครองของโปรตุเกสอยู่ประมาณ 100 ปี และเปลี่ยนมือมาเป็นของฮอลันดาอีกประมาณ 100 ปี พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นป่าดงกลายเป็นที่อยู่ของชาวประมงและโจรสลัด

ใน ปี พ.ศ. 2362 แรฟเฟิลส์ได้แล่นเรือมาขึ้นเกาะ และได้มองเห็นศักยภาพและโอกาสเป็นอย่างมากที่จะใช้เป็นฐานที่ตั้งทางการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ แรฟเฟิลส์ได้ทำข้อตกลงและเซ็นสัญญากับสุลต่านฮุสเซน ชาร์ ในนามของบริษัทอีสต์อินเดียเพื่อสร้างเป็นฐานที่ทำการค้าและการตั้งถิ่นฐาน แรฟเฟิลส์ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสิงคโปร์เมื่อ พ.ศ. 2366 เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างศีลธรรม ห้ามการพนัน และ การค้าทาส ซึ่งต่อมามีผู้คนหลายเชื้อชาติค่อย ๆ อพยพเข้ามาทำงานในสิงคโปร์และเริ่มทะลักมากขึ้น สิงคโปร์กลายเป็นส่วนในอาณัติของอาณานิคมอังกฤษโดยบริหารจัดการโดยบริษัทอีสต์อินเดียเมื่อ พ.ศ. 2401 และกลายเป็นอาณานิคมของจักวรรดิอังกฤษอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2410 เมื่อถึง พ.ศ. 2412 ปรากฏว่าสิงคโปร์มีประชากรมากถึง 100,000 คน

ในระยะหลังๆ เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์เริ่มเบื่อหน่ายการงานเนื่องจากมีศัตรูทางการเมืองมากจึงหันความสนใจไปในด้านธรรมชาติวิทยา เขาอยู่ดูแลการก่อตั้งสิงคโปร์จริงๆ เพียง 8 เดือน เมือเห็นว่าเรียบร้อยดีก็ออกเดินทางกลับประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2367 แต่แม้จะเป็นช่วงเวลาที่สั้น แรฟเฟิลส์ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ก่อตั้งสิงคโปร์

ในปี พ.ศ. 2368 เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ได้ร่วมก่อตั้งสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอนและสวนสัตว์ลอนดอนและได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมคนแรก แต่ในปีต่อมาแรฟเฟิลส์ก็ได้เสียชีวิตจากการตกเลือดในสมองก่อนที่จะมีอายุครบ 45 ปี เพียง 1 วัน แรฟเฟิลส์นับได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความโศกเศร้าในชีวิตในโลกตะวันออกไม่น้อย เขาเสียภริยาในชวาและลูกอีก 3 คนในเบนคูเลน และเนื่องจากการเป็นนักต่อต้านการค้าทาส ศพแรฟเฟิลส์ถูกห้ามมิให้ฝังในบริเวณโบสถ์ที่บ้านเกิด (โบสถ์เซนต์แมรี่ เมืองเฮนดอน) โดยพระราชาคณะของเขตปกครองนั้นซึ่งมีครอบครัวที่เคยมีรายได้จากการค้าทาส แต่ในภายหลังเมื่อมีการขยายตัวโบสถ์เมื่อประมาณ พ.ศ. 2465 หลุมฝังศพของแรฟเฟิลส์จึงได้เข้ามาอยู่ในตัวอาคาร

ทั้งในประเทศสิงคโปร์และในที่อื่นๆ ชื่อของเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ได้ปรากฏในรูปแบบต่างๆ มากมาย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187